2/11/59

วิธีการแต่งตัวไว้อาลัยที่เหมาะสม




การแต่งกายเพื่อน้อมถวายอาลัยต่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชนั้น ต้องแต่งการด้วยความเหมาะสมและสอดคล้องกับหลักธรรมเนียมการแต่งกายไว้ทุกข์ในงานศพที่มีมา ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ครับ 

  1. ร่วมงานพระราชพิธี ต้องเคร่งครัด
    กรณีไปร่วมงานพระราชพิธีพระบรมศพ ให้ข้าราชการแต่งเครื่องแบบตามหมายรับสั่งหรือหมายกำหนดการของพระราชวัง โดยให้ใช้ผ้าสักหลาดหรือผ้าโปร่งสีดำ ขนาดกว้างระหว่าง 7 ถึง 10 เซนติเมตร พันแขนเสื้อเบื้องบน แต่ถ้าในกรณีไม่ได้ร่วมงานพระราชพิธีพระบรมศพ ข้าราชการให้แต่งตัวด้วยเครื่องแบบปฏิบัติราชการ (เครื่องแบบสีกากีคอพับ และเครื่องแบบสีกากีคอแบะ) ไม่ต้องใช้ผ้าสักหลาดหรือผ้าโปร่งสีดำดังกล่าวพันแขนเสื้อซ้ายเบื้องบน
  1. ข้าราชการชาย
    การแต่งกายทั่วไปในการปฏิบัติราชการ ข้าราชการชายให้แต่งด้วยเสื้อเชิ้ตสีขาวหรือสีดำ ผูกเนกไทสีดำ หากจะสวมเสื้อสูทหรือเสื้อคลุมให้ใช้สีดำ โดยอาจใช้ผ้าสักหลาดหรือผ้าโปร่งสีดำดังกล่าวพันแขนเสื้อเบื้องบนได้ตามสมควร
  1. ข้าราชการหญิง
    การแต่งกายทั่วไปในการปฏิบัติราชการ ข้าราชการหญิงให้แต่งกายสุภาพตามรัฐพิธี โดยให้ใช้เครื่องดำล้วน กรณีข้าราชการที่มีกฎหมายกำหนดไว้อย่างอื่นเป็นการเฉพาะ ก็ให้แต่งกายตามนั้น ส่วนพนักงานรัฐวิสาหกิจ และเจ้าหน้าที่ของรัฐอื่นให้อนุโลมตามข้อ 1 และข้อ 2

  1. พสกนิกรทั่วไปควรใส่สีดำล้วนสุภาพที่สุด
    คุณธงทอง จันทรางศุ ผู้เคยเข้าถวายงานปฏิบัติราชการถวายพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ และเป็นผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญในด้านราชสำนัก ได้ให้คำแนะนำไว้ว่า การแต่งกายของพสกนิกรชาวไทยเพื่อแสดงความอาลัยต่อการสวรรคต หรือสิ้นพระชนม์ของพระบรมวงศานุวงศ์ หรือในที่นี้คือการถวายบังคม และแสดงความอาลัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีดำเป็นพื้นฐาน ใช้สีขาวหรือสีเทาสลับได้
  1. รูปแบบชุดต้องสุภาพ
    เสื้อผ้าควรออกแบบอย่างสุภาพ ไม่มีลวดลาย ลูกไม้ สายเดี่ยว เกาะอก หรือสั้นเกินงามให้ละเว้น ในส่วนของเครื่องแบบของหน่วยงานให้ใช้ใส่ไว้ทุกข์ได้ ถือว่าเป็นรูปแบบที่เป็นทางการสงบและสุภาพ
  1. เสื้อมีตราสัญลักษณ์ ไม่ควรใส่
    สำหรับเสื้อสีดำแต่ติดตราสัญลักษณ์ที่พบเห็นตามท้องตลาด ไม่ควรนำมาสวมใส่เพื่อแสดงความอาลัย เนื่องจากไม่ได้รับพระบรมราชานุญาติ และผิดกาลเทศะ


ขอบคุณที่มา : http://www.alibabyshop.com

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น