29/7/59

5 วิธี ฝึกสมาธิเจ้าตัวน้อย

สมาธิ จุดเริ่มต้นของการเรียนรู้
               “สมาธิ คือ การจดจ่อกับสิ่งที่จะทำอย่างแน่วแน่ เพื่อพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ

                เด็กบางคน เก่ง ฉลาด พูดจาฉะฉาน ความจำดี ดูนิ่ง และมีความตั้งใจทำอะไรได้นาน แต่เด็กบางคนมีพฤติกรรมต่างกันสิ้นเชิง นั่นเพราะว่าขาดสมาธิ ซึ่งสมาธิเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้ และจดจำของเด็ก
“โดยเฉลี่ยเด็ก อายุก่อน 3 ขวบจะมีสมาธิ ประมาณ 5 นาที และเมื่อ 3 ขวบขึ้นไปก็จะประมาณ 10 - 15 นาที ฉะนั้นการฝึกสมาธิในเด็กจึงต้องใช้ของเล่นที่มาช่วยดึงดูดความสนใจ กระตุ้นให้เด็กๆอยากเล่น แต่ต้องดูความเหมาะสมของวัย อาทิ เด็ก 1 เดือน จะสามารถจ้องวัตถุได้ หรือหันไปหาเสียงที่เขาได้ยินก็ถือเป็นสมาธิเริ่มต้น เด็กอายุ 4 - 9 เดือน ก็จะมีในเรื่องกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เราก็สามารถหาของเล่นให้เค้าคลานไปหาได้ อายุ 8 - 9 เดือนจะมีพัฒนาการด้านการสัมผัส เริ่มคลานหาเป้าหมาย อาจหาของเล่นเช่น ลูกบอลที่มีแสง-เสียงเพื่อฝึกสมาธิรู้จักวางแผนที่จะคลานไปหาของสิ่งนั้น อายุ1ขวบ สามารถจดจำสีแดงได้เป็นสีแรก อายุ 2 ขวบสามามารถจำแนกแม่สีได้ อายุ3 ขวบ เลียนแบบท่าทางของสัตว์นานาชนิด รูปแบบกิจกรรมอาจเป็นการท้ายชื่อสี ชื่อสัตว์ ท่าทางเพื่อกระตุ้นในเรื่องของทักษะการจำและให้เด็กได้แสดงออก ช่วยเสริมทักษะทางสังคมให้เด็ก อีกทั้งเพิ่มสายใยในครอบครัวให้อบอุ่นขึ้นด้วย"

สำหรับพ่อและแม่ทุกคนย่อมหวังที่จะให้ลูกน้อยเป็นเด็กเก่งทั้งด้าน ความฉลาดทางสติปัญญาและความมีไหวพริบปฏิภาณ ซึ่งความเฉลียวฉลาดนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เอง จำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมจากคุณพ่อคุณแม่ในหลายด้าน ทั้งการสั่งสอน อบรม เสริมสร้างวินัย และการฝึกสมาธิ ดังนั้นการฝึกสมาธิให้กับลูกน้อยตั้งแต่ยังเด็กอยู่ก็ถือเป็นการปูพื้นฐาน สติปัญญาให้กับลูกน้อยได้เป็นอย่างดี

สมาธิสำหรับเด็กเป็นอย่างไร
สมาธิสำหรับเด็ก ไม่ได้หมายความว่าให้คุณพ่อคุณแม่จับเจ้าหนูมานั่งนิ่งๆ ไม่ให้กระดุกกระดิกไปไหน แต่สมาธิสำหรับเด็ก คือ การฝึกเด็กให้ความสนใจหรือจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างแน่วแน่และตั้งใจใน ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นการสนใจในระยะเวลาสั้นหรือเป็นระยะเวลานานก็ได้ โดยจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาการ และความเพลิดเพลินควบคู่กันไป

สมาธิสำหรับเด็ก ไม่ได้หมายความว่าให้คุณพ่อคุณแม่จับเจ้าหนูมานั่งนิ่งๆ ไม่ให้กระดุกกระดิกไปไหน แต่สมาธิสำหรับเด็ก คือ การฝึกเด็กให้ความสนใจหรือจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างแน่วแน่และตั้งใจใน ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นการสนใจในระยะเวลาสั้นหรือเป็นระยะเวลานานก็ได้ โดยจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาการ และความเพลิดเพลินควบคู่กันไป แต่ในวัยเด็ก การจะจับให้เด็กมาสนใจกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นระยะเวลานานๆ คงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เนื่องจากทุกสิ่งทุกอย่างสำหรับเขายังดูใหม่และมีความน่าสนใจอยู่เต็มไปหมด เด็กจึงสนใจอยู่กับสิ่งหนึ่งได้ไม่นาน จึงทำให้ธรรมชาติของเด็กๆ จะถูกเข้าใจว่าไม่ชอบอยู่นิ่ง ขี้เบื่อ วอกแวก และสนใจกับสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ ดังนั้นการที่คุณพ่อคุณแม่เริ่มปูพื้นฐานด้านสมาธิ จะช่วยส่งเสริมให้เด็กจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งนานๆ ได้เรียนรู้อย่างเต็มที่ เพื่อพัฒนาสู่ทักษะด้านอื่นๆ ต่อไป


ฝึกสมาธิให้เด็กอย่างไร
ควรฝึกให้เด็กเริ่มทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยตัวเองบ้าง อาจเริ่มจากให้เด็กฝึกแก้ไขปัญหาด้วยดัวเองก่อน เช่น ให้เด็กหยิบของ หรือแกะขนมด้วยตัวเอง แล้วจึงเพิ่มกิจกรรมส่วนตัวง่ายๆ เข้าไปด้วย เช่น กินอาหารเอง อาบน้ำเอง จากนั้นค่อยๆ เพิ่มระดับความยากของกิจกรรมขึ้นไป วิธีนี้นอกจากจะช่วยฝึกสมาธิให้ลูกทำภารกิจให้สำเร็จเป็นอย่างๆ แล้ว ยังช่วยให้เขารู้จักหน้าที่ของตนเอง และยังช่วยส่งเสริมการตัดสินใจแก้ปัญหาได้อีกด้วย

1. นิทานก่อนนนอน
สมาธิสำหรับเด็ก ไม่ได้หมายความว่าให้คุณพ่อคุณแม่จับเจ้าหนูมานั่งนิ่งๆ ไม่ให้กระดุกกระดิกไปไหน แต่สมาธิสำหรับเด็ก คือ การฝึกเด็กให้ความสนใจหรือจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างแน่วแน่และตั้งใจใน ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นการสนใจในระยะเวลาสั้นหรือเป็นระยะเวลานานก็ได้ โดยจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาการ และความเพลิดเพลินควบคู่กันไป แต่ในวัยเด็ก การจะจับให้เด็กมาสนใจกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นระยะเวลานานๆ คงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เนื่องจากทุกสิ่งทุกอย่างสำหรับเขายังดูใหม่และมีความน่าสนใจอยู่เต็มไปหมด เด็กจึงสนใจอยู่กับสิ่งหนึ่งได้ไม่นาน จึงทำให้ธรรมชาติของเด็กๆ จะถูกเข้าใจว่าไม่ชอบอยู่นิ่ง ขี้เบื่อ วอกแวก และสนใจกับสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ ดังนั้นการที่คุณพ่อคุณแม่เริ่มปูพื้นฐานด้านสมาธิ จะช่วยส่งเสริมให้เด็กจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งนานๆ ได้เรียนรู้อย่างเต็มที่ เพื่อพัฒนาสู่ทักษะด้านอื่นๆ ต่อไป

2. ของเล่นที่หลากหลาย
ของเล่นสำหรับเด็กช่วยส่งเสริม พัฒนาการด้านต่างๆ ได้เป็นอย่างดี แต่การจะให้เด็กเล่นของเล่นชิ้นเดิมๆ ก็คงจะไม่ใช่เรื่องง่าย หรือจะให้ทุ่มทุนซื้อของเล่นที่มากมายมาให้เด็กได้เล่นก็ดูจะเป็นการสิ้น เปลืองเกินไป ดังนั้นในครั้งต่อไปให้คุณพ่อคุณแม่ลองเลือกของเล่นที่สามารถเล่นได้หลาก หลาย อย่างชุดสวนสัตว์ หรือตัวต่อ จิ๊กซอว์ เลโก้ ร้อยเชือก บล็อกไม้  ที่สามารถต่อเล่นเป็นเรื่องราวกับของเล่นชนิดอื่นๆ ได้ หลังจากเล่นเสร็จอย่าลืมให้เด็กช่วยเก็บของเล่นเพื่อฝึกระเบียนวินัยได้อีก ด้วย

3. เสริมกิจกรรม
คุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ ให้เหมาะสมตามวัย เช่น ว่ายน้ำ เรียนดนตรี หรือกิจกรรมทางศิลปะต่างๆ ให้หลากหลาย เพราะการที่คุณพ่อคุณแม่ให้ลูกน้อยได้รู้จักทำกิจกรรมต่างๆ มากขึ้น จะเป็นการปลูกฝังความสนใจและสมาธิได้เป็นอย่างดี และมีผลการวิจัยระดับโลกที่ยืนยันว่าเพลงคลาสสิคหรือเพลงบรรเลงที่มีจังหวะช้า ๆ สม่ำเสมอ เข้ากับการเต้นของหัวใจ จะช่วยให้ร่างกายมีสภาวะที่ผ่อนคลาย เพิ่มความสามารถทางด้านความจำ และการเรียนรู้ได้รวดเร็ว

4. สนับสนุนสิ่งที่เด็กชอบ
หากพ่อแม่สังเกตว่าลูกเริ่มสนใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น  เรื่องแมลง เรื่องไดโนเสาร์ พ่อแม่ควรกระตุ้นความอยากเรียนรู้ของเด็กมากขึ้น ด้วยการตั้งคำถามและข้อสงสัย แล้วท้าทายให้เด็กแสวงหาคำตอบ เช่น ค้นคว้าจากหนังสือ อินเตอร์เน็ต พาไปศึกษารายละเอียดตามพิพิทธภัณฑ์หรือแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้สมาธิจดจ่อในการศึกษาเรื่องที่สนใจยาวนาน ขึ้นได้

5. อยู่กับธรรมชาติ
ลักษณะพิเศษของธรรมชาติ คือ ความสงบนิ่ง การให้เด็กได้คุ้นเคยกับธรรมชาติ จะช่วยให้เขาสงบนิ่งมากยิ่งขึ้น โดยอาจจะเริ่มจากการพาเด็กไปเดินสวนสาธารณะแล้วให้เขาสังเกตสิ่งต่างๆ หรือพาเด็กไปเลือกซื้อเมล็ดพันธุ์มาปลูก และให้เขาดูแลต้นไม้ของเขาเองจนโต

ฝึกสมาธิแล้วเด็กได้อะไร
  • เด็กจะเป็นคนจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นานขึ้น ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อการเรียนเมื่อเด็กถึงวัยเข้าโรงเรียน
  • เด็กจะเป็นคนใจเย็น ใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา ไม่วู่วาม ไม่ใช้อารมณ์ในการตัดสิน
  • วิธีทดสอบง่ายๆ ให้ลองทาผลิตภัณฑ์บางส่วนลงบนข้อพับแขนหรือด้านหลังใบหู เพราะผิวหนังส่วนนี้มีความบอบบางเทียบเคียงกับผิวของลูกน้อย หากไม่เกิดอาการแสบร้อน หรือเป็นรอยแดง ก็ถือว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีความอ่อนโยนในเบื้องต้น
  • เด็กจะเป็นคนที่มีวินัย มุ่งมั่นทำอะไรให้เสร็จเป็นอย่างๆ ไม่ทำอะไรซ้ำซ้อนจนไม่สำเร็จสักอย่าง
การฝึกสมาธิในเด็กให้เกิดผลอย่างดีที่สุด สิ่งที่สำคัญที่สุดคือความรักความเอาใจใส่จากคุณพ่อคุณแม่ ด้วยการนั่งอยู่เป็นเพื่อนใกล้ๆ เด็กจะรู้สึกว่าไม่โดดเดี่ยว อุ่นใจ ไม่ต้องเสียสมาธิและผละออกจากกิจกรรมที่ทำอยู่ ทำให้เด็กเกิดสมาธิ สามารถจดจ่อกับสิ่งที่ทำอยู่ได้เป็นเวลานานๆ

ขอขอบคุณ :
http://www.manager.co.th/
http://www.trueplookpanya.com/
http://m.care.co.th/

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น